You are currently viewing พรบ.อุ้มหาย 2565 ใครได้ประโยชน์

พรบ.อุ้มหาย 2565 ใครได้ประโยชน์

พรบ.อุ้มหาย 2565 คืออะไร

พรบ.อุ้มหาย มีชื่อเต็มว่า พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และใช้มีผลบังคับใช้ใน 120 วัน ซึ่ง พรบ.นี้ มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่รัฐ ละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดจนป้องกันการทรมานและการปฏิบัติหรือลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

พรบ อุ้มหาย 2565

ใช้บังคับเมื่อไร

         หลังจากที่ พรบ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทางกฎหมายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา 120 วัน แต่ทว่าการบังคับใช้นั้นยังไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากขาดงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงความรู้ความเข้าใจต่อข้อกฎหมายของผู้ปฏิบัติ ต่อมาวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติว่า พรก.เลื่อนบังคับใช้นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ และใช้ พรบ.ดังกล่าวมีผลมาตั้งแต่ต้นซึ่งนั่นก็คือ วันที่ 22 ก.พ. 66 นั่นเอง

ใครได้ประโยชน์

     จะว่ากันแล้วตั้งแต่ พรบ.นี้ออกมาบังคับใช้ ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานได้ยากขึ้น เนื่องจากมีขั้นตอนทางกฎหมายที่จะต้องรายงานต่อพนักงานอัยการ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เมื่อมีการควบคุมตัวผู้ต้องหา รวมถึงการบันทึกภาพและวีดีโออย่างต่อเนื่องทันทีตั้งแต่มีการควบคุม จนกระทั่งส่งมอบตัวให้กับพนักงานสอบสวน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะต้องใช้อุปกรณ์ กำลังพล ในการบันทึกและจัดทำเอกสารรายงานตามกฎหมาย ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามก็อาจเข้าข่ายความผิดปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หากจะถามว่าใครได้ประโยชน์จากพรบ.นี้ ก็คงบอกได้ว่าเป็นส้มหล่นของผู้ที่กระทำผิดบางส่วน แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกลักพาตัวจากเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดียวกัน

ได้ผลจริงไหม

     หากจะถามว่าได้ผลไหม คงมีผลทางจิตวิทยาของผู้ที่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้ ซึ่งจริงๆแล้วก็มีข้อกฎหมายที่ใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้บังคับให้เจ้าหน้าที่รายงาน รวมถึงบันทึกวีดีโอระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งหากมองภาพรวมก็เป็นการป้องกันและทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้น มั่นใจถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและสามารถปฏิเสธคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายไปโดยปริยาย

ป้องกันคำสั่งอุ้มหาย

หากจะมองจริงๆแล้ว คดีใหญ่ๆที่มีการอุ้มทหาย หรือพยานสำคัญนั้น คงเป็นคดีที่มีมูลค่าความเสียหายสูง หรือมีผลกระทบต่อบุคคลสำคัญ หรือความมั่นคงระดับสูง ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่จะอุ้มนั้นก็จะต้องได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งพรบ.นี้ก็จะสามารถระงับยับยั้งสิ่งที่ผู้บังคับบัญชากำลังใช้อำนาจรัฐในการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้ต้องหา หรือพยานในคดีเหล่านั้นนั่นเอง