You are currently viewing สิทธิการเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา

สิทธิการเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา

     เมื่อคุณตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ที่ได้รับความเสียหายทางร่างกายหรือจิตใจ จากการกระทำทางอาญาของผู้อื่น หรือเป็นจำเลยที่ศาลตัดสินแล้วว่าไม่มีความผิด ซึ่งแน่นอนว่าท่านได้รับผลกระทบจากกระบวนยุติธรรมในการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน รายได้ ท่านสามารถติดต่อขอรับเงินเยี่ยวยาจากรัฐได้ผ่านหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม ที่กรมคุ้มครองสิทธิฯ หรือยุติธรรมจังหวัดฯ 

     โดยผู้ขอรับการเยียวยาจะต้องนำเอกสารที่ได้รับจากสถานีตำรวจเกี่ยวกับรายละเอียดทางคดี หรือคำพิพากษาของศาลที่แสดงถึงรายละเอียดของความบริสุทธิ์ของจำเลย เพื่อให้หน่วยงานพิจารณาชดเชยตามสมควรได้ โดยผู้เสียหายจะต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่ทราบเหตุที่เกิด หรือหากเป็นกรณีจำเลยก็นับตั้งแต่ศาลถอนฟ้องหรือมีพิพากษาถึงที่สุด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

คุณสมบัติผู้เสียหายหรือจำเลยที่สามารถขอรับเงินเยียวยาตามกฎหมาย

ผู้เสียหาย

  • เป็นผู้เสียหายที่แท้จริงซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดหรือเป็นต้นเหตุแห่งการกระทำนั้น
  • ถูกทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายหรือจิตใจ ถูกลูกหลง ถูกข่มขืน ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ กรรโชก ชิงทรัพย์ หรือบุกรุก
  • ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จากการกระทำโดยประมาทของผู้อื่น

จำเลย

  • ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา แต่ภายหลังศาลมีการยกฟ้อง ถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่มีความผิด

สิทธิที่ผู้เสียหายสามารถได้รับ

กรณีทั่วไป

  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจไม่เกิน 20,000 บาท
  •  ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหากิน ตามค่าแรงขั้นต่ำระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • ค่าตอบแทนอื่นๆตามที่คณะกรรมการพิจารณา
  •  ค่าห้องและค่าอาหารในการรักษาพยาบาลไม่เกินวันละ 1,000 บาท

กรณีเสียชีวิต

  • ค่าตอบแทน 30,000 – 100,000 บาท
  • ค่าจัดงานศพ 20,000 บาท
  • ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าเสียหายอื่นตามคณะกรรมการพิจารณาไม่เกิน 40,000 บาท

สิทธิที่จำเลย "แพะ" สามารถได้รับ

กรณีทั่วไป

  • ค่าทดแทนจากการถูกคุมขังวันละ 500 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจไม่เกิน 50,000 บาท
  •  ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหากิน ตามค่าแรงขั้นต่ำตามระยะเวลาที่ถูกดำเนินคดี
  • ค่าใช้จ่ายในที่ใช้ในการดำเนินคดี เช่น ค่าทนาย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่เกิน 30,000 บาท
  •  ค่าห้องและค่าอาหารในการรักษาพยาบาลไม่เกินวันละ 1,000 บาท

กรณีเสียชีวิต

  • ค่าทดแทน 100,000 บาท
  • ค่าจัดงานศพ 20,000 บาท
  • ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าเสียหายอื่นตามคณะกรรมการพิจารณาไม่เกิน 40,000 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สายด่วน 1111 ต่อ 77
Line ID : rlpdconsultation